วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ

ประวัติวันแม่








             แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้ กําหนด เอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีทั้งนี้
เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์พ.ศ.2493 ซึ่ง
ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของ สํานักวัฒนธรรมฝ่ายหญิงสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็น
ต้นมานั้นได้รับความ สําเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยาย
ขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไปมีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาการประกวด คําขวัญวันแม่การประกวดแม่
ของชาติเพื่อให้เกียรติและตระหนักใน ความสําคัญของแม่และเพื่อเพิ่ม ความสําคัญของ
วันแม่ให้ยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจําปีของชาติตามประกาศของ
รัฐบาลฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงครามแต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพ
ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถคือวันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
เริ่มในปีพ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ


1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ทําบุญใส่บาตรอุทิศส่วน
กุศลเพื่อรําลึกถึงพระคุณของแม่
4. นําพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่


การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย



งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพรโดย
กระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงด
ไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีกแต่ก็ไม่
ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควรและมีการเปลี่ยนกําหนดวันแม่ไปหลายครั้งต่อมาวันแม่ที่
รัฐบาลรับรองคือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปีพ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีก
ในหลายปีต่อมาเนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่ง
รับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้งในวันที่ 4
ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2519
คณะกรรมการอํานวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึง
ได้กําหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถวันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติสัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือดอกมะลิซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ส่งกลิ่นหอมไปไกลและ
หอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปีเปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อ
ลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย



เพลงที่ใช้ในวันเเม่





ค่าน้ำานม คือเพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติเเต่งขึ้นโดย
อาจารย์สมยศ ทัศนพันธ์ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่าขึ้นหิ้งอมตะและเป็นงาน
เพลงชิ้นเอกซึ่งได้ฟังเมื่อไรเป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเกาๆของวิถี
ไทยในสมัยก่อนเนื้อเพลง นอกจากจะให้เราระลึกถึงพระคุณเเม่เเล้วยังทําให้เรามองเห็นขนบ
ดั้งเดิมตามวิถีไทย หลายอย่างจากเนื้อเพลง เช่นการศึกษาของผู้ชายไทยสมัยก่อนนั้น
มักจะอยู่ในวัดวาอารามซึ่งเป็นแหล่งสอนสั่งความรู้ทางโลกอ่านออกเขียนได้และ ทาง
ธรรมอันได้แก่การถือศีลและยึดมั่นในพระรัตนไตร นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อกันอีกว่า
หากลูกชายบ้านให้ ได้บวชเรียนก็จะส่งแผ่อานิสงค์ไปให้กับพ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง
ไปสู่ที่ดีๆเมื่อถึงกาลแตกดับ              
ท่วงทํานองเสนาะโสตและ ทุ่มเย็น กับคําร้องที่ตรงไป ตรงมาชวนให้นึกภาพ
ตามได้ไม่ยากแม้แต่เด็กเล็กๆจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครฟังเพลงนี้แล้วจะต้องหลั่งน้ำาตา
ให้กับความซาบซึ้งแห่งรักที่แม่มีให้เรา...




"  การรักผู้ที่ ให้กำเนิดเราไม่จำเป็นต้องเป็น  วันแม่ เราควรจะ  รัก แม่ทุกวัน  "